ปัญญาอนาคต ปัญญาอดีต

Future / Past หนังสือเล่มดังของคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา คนเขาอ่านกันไปทั้งบ้านทั้งเมืองแล้ว เพิ่งมีโอกาสได้อ่านแบบช้าสุดๆ เขียนถึงแบบควบสองเล่มเลยละกัน
Books I read
Future / Past หนังสือเล่มดังของคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา คนเขาอ่านกันไปทั้งบ้านทั้งเมืองแล้ว เพิ่งมีโอกาสได้อ่านแบบช้าสุดๆ เขียนถึงแบบควบสองเล่มเลยละกัน
EBC48 เอเวอเรสต์เสี่ยงทาย หนังสือว่าด้วยการเดินเท้าไปยังแคมป์ Everest Base Camp ตีนเขาหิมาลัย กับกลุ่มคนไทย 4 คนที่ประกอบด้วยชาย 3 และหญิงตั้งครรภ์ 1 คน!
ซื้อหนังสือ "สู่ฟ้าเสวยสวรรค์" ของมติชน ซึ่งเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องหลังการสร้างพระเมรุมาศ ของ ร.9 มา และนำข้อมูลบางอย่างในหนังสือไปโพสต์ใน Facebook / Twitter และได้รับความสนใจล้นหลาม (โดยเฉพาะใน Twitter วันที่ 26 ตค. 60 ที่มีพระราชพิธี) เลยมาจดเก็บไว้ในบล็อกหน่อย
เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 มีโอกาสได้ไปพูดงาน "สามก๊ก Live Talk" กับทางมติชนและ BEC เลยได้เพื่อนใหม่มากมาย หนึ่งในนั้นคือคุณอ๋อง นิธิพันธ์ วิประวิทย์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้ราชวงศ์จีน
คุณอ๋องโด่งดังมาจากเพจ Ong China และเป็นผู้แปลคลิป "อี้จงเทียนพิเคราะห์สามก๊ก" ซึ่งเป็นรายการทีวีของจีน ที่วิเคราะห์วิจารณ์สามก๊กแบบเจาะลึก เนื่องจากคุณอ๋องเคยอยู่ที่เมืองจีนมาก่อน เลยเห็นโอกาสในการนำเนื้อหาส่วนนี้มาฝากแฟนๆ สามก๊กในไทย จนทำให้ผู้แปลคือตัวคุณอ๋องเอง โด่งดังขึ้นมา
เข้าโหมดเขียนบล็อกเดือนละ 1 ตอน หนังสือเล่มนี้อ่านจบมาได้สักพักแล้ว ไม่รู้จะไปเขียนลงที่ไหนดี เอาที่นี่ล่ะกัน
ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย: หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท เป็นหนังสือรวมบทความเชิงวิชาการจากนักวิชาการประวัติศาสตร์หลายคน โดยมี อ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นบรรณาธิการ
ติโต เป็นพระราชนิพนธ์แปลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เป็น 1 ใน 2 เล่มที่ทรงแปล อีกเล่มคือนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ) เป็นเรื่องของโจซิป โบรซ ติโต (Josip Broz Tito) ประธานาธิบดีผู้สร้างชาติยูโกสลาเวียช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
หนังสือไม่ยาวนัก มีแผนที่และภาพประกอบสวยงาม ในหลวงแปลจากหนังสือเรื่อง Tito ของ Phyllis Auty ตอนนี้ฉบับแปลยังมีขายอยู่ที่ร้านนายอินทร์ ราคา 250 บาท (ปกแข็งอย่างดี)
เราอาจคุ้นเคยชื่อ "ยูโกสลาเวีย" (Yugoslavia) จากสงครามช่วงยุค 90s กันมาบ้าง แต่ถ้าถามว่าประเทศยูโกสลาเวียเป็นอย่างไร จำนวนคนที่ตอบได้อาจไม่เยอะนัก เมื่อเทียบกับชาติยุโรปตะวันตกทั้งหลาย
หนังสือเล่มอวสานของตำนาน The Hunger Games สามารถสรุปได้ว่าเป็น "ความเวิ่นเว้อของแคตนิส ภาคสมบูรณ์"
ประโยคที่ define moment ของหนังสืออยู่ในหน้าแรกๆ
กระนั้น ฉันก็ยังเกลียดพวกเขา แต่ตอนนี้ฉันก็เกลียดแทบทุกคนอยู่แล้ว และเกลียดตัวเองมากกว่าใครๆ
ความเวิ่นเว้อกำลังดีของแคตนิสในเล่มแรก กลายมาเป็นความน่ารำคาญในเล่มสอง และพอมาถึงเล่มสาม เธอก็วิวัฒนาการเต็มขั้นกลายเป็นสุดยอดแห่งความน่ารำคาญ
หลังจากอ่าน The Hunger Games เล่มแรก ก็ต่อด้วยเล่มสอง "ปีกแห่งไฟ" Catching Fire เลยดีกว่า
ครึ่งแรกของเล่มสามารถสรุปได้ว่า "แคตนิส ชีวิตเซเล็บที่ฉันไม่อยากเป็น" แคตนิสที่ชนะการแข่งขัน The Hunger Games #74 มีชีวิตที่ดีขึ้น สบายขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความสนใจของผู้คน ต้องเฟคตลอดเวลา เพื่อเอาใจประธานาธิบดีสโนว์ ที่เห็นว่าเธอเป็นสัญลักษณ์ของ uprising ทำให้เธอต้องพยายามเฟคดูหวานแหววกับพีต้า ทั้งที่ชอบเกลมากกว่า (รักสามเส้าอันน่าเบื่อ)
The Hunger Games เป็นซีรีส์หนังสือ-หนังดังในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่ผมไม่ได้ติดตามเลย (คือเลิกเข้าโรงหนังไปนานแล้ว ส่วนหนังสือก็ดันไม่ได้อ่าน)
ปัญหาคือความดังของมันอยู่ในระดับที่ "ไม่สนใจแล้วคุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง" ตัวอย่างเช่น ตอนที่ในไทยประท้วงรัฐประหารด้วยสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว เราก็ไม่ค่อยเก็ตเพราะไม่เคยอ่าน-ไม่เคยดู หรือ ตอนมีภาพหลุด Jennifer Lawrence ก็ไม่ค่อยรู้จักมากนักว่าเธอคือใคร
พอช่วงนี้ชีวิตเริ่มมีเวลาว่างกลับคืนมา ก็ได้ฤกษ์เข้าสู่วงการ The Hunger Games บ้าง ผมเลือกอ่านนิยายก่อนดูหนัง และพบว่าหนังสือเล่มแรกสนุกดี และไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหนังสือ-หนังซีรีส์นี้ถึงโด่งดังแบบถล่มทลาย
วันเดียวกับที่ HP เผยโลโก้ของบริษัทใหม่ที่จะแยกตัวออกมา ผมก็อ่านหนังสือคลาสสิค The HP Way ที่เขียนโดยผู้ก่อตั้ง David Packard จนจบ (คนขวาในภาพคือ Packard คนซ้ายคือ Hewlett)
เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้เพราะได้ยินการอ้างถึง "HP Way" อยู่บ่อยครั้งในตำราด้านบริหารธุรกิจ บวกกับอยากรู้ประวัติศาสตร์ของซิลิคอนวัลเลย์ในยุคก่อตั้งด้วย (HP ก่อตั้งปี 1939 ตอนนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ และสตีฟ จ็อบส์ ยังชดใช้กรรมชาติก่อนอยู่เลยกระมัง) อ่านจบแล้วพบว่าได้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ดังที่ต้องการ และได้เรียนรู้ว่า "วิถีแห่งเอชพี" ว่าตกลงแล้ว HP Way คืออะไรกันแน่