in Technology

ชาว Web3 ลืมไปว่าอะไรคือจุดแข็งของ Web2

ภาพประกอบ Web 2.0 ยุคปี 2008 จาก TopRank Marketing/Flickr

เจอบทความน่าสนใจใน VentureBeat เขียนโดย Jonathan Stringfield ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่าย Research & Marketing ของ Activision Blizzard พูดถึงคำใหม่สุดฮิป (หรือเลิกแล้ว?) ของวงการอย่างคำว่า Metaverse และ Web3 ซึ่งก็แน่นอนว่าสับเละ

บทความเริ่มต้นด้วยการบอกว่า Metaverse กับ Web3 มันเป็นคนละเรื่องกันนะ ไม่เกี่ยวข้องกันเลย  คำว่า Web3 พยายามเสนอ “สถาปัตยกรรม” (architecture) ส่วน Metaverse พูดถึง “ช่องทางการเข้าถึง” (a means to access) แต่คนมักพยายามเอามาผูกกันให้ยิ่งดูล้ำๆ เท่ๆ ฟังไม่รู้เรื่องไปอีกชั้น

ถ้าเราเจาะมาที่ประเด็นเรื่อง Web3 กันดูก่อน

วาทกรรมหลักที่พบบ่อยมากในหมู่ชาว Web3 คือ เราต้องการ “ปลดแอก” ผู้ใช้จากอำนาจรวมศูนย์ (centralization) ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Meta ที่หากินจากข้อมูลของผู้ใช้จนร่ำรวยมหาศาล

สตอรี่ของชาว Web3 จะเป็นไปในเชิงของการต่อสู้ ปลดปล่อย และพยายามฉายภาพว่า Web2 นี่มันเลวร้ายมากเลยนะ แต่กลับไม่ค่อยได้พูดถึงข้อดีของ Web2 กันสักเท่าไร และทำไมคือเหตุผลที่ทำให้คนหลายพันล้านคนใช้งาน Web2 กันในทุกวันนี้

บทความนี้เสนอคำตอบว่าแกนกลางของ Web2 ไม่ได้ตั้งใจรวมศูนย์นะพวกเธอ แต่การรวมศูนย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาของแกนหลักของ Web2 ต่างหาก

อะไรคือแกนหลักของ Web2 คำตอบคือ มันใช้ง่ายและสะดวก

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตและเว็บเกิดใหม่ๆ เราอาจต้องตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์เอง ตั้งเมลเซิร์ฟเวอร์เอง มีห้องคุยแบบ IRC ที่เจ้าของห้องออกจากระบบแล้วทุกอย่างจะหายไป ในยุคแรกๆ คนไอทีอาจทำสิ่งเหล่านี้กันได้ แต่เมื่อคนเริ่มเข้าอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น เริ่มแมสขึ้น ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะมาทำอะไรที่มันยุ่งยากแบบนี้

แพลตฟอร์มแบบ Google, Facebook, YouTube, Twitter เติบใหญ่ขึ้นได้ เพราะเสนอ “ความง่าย” ให้ผู้ใช้ต่างหาก ผู้ใช้ไม่ต้องสร้างอะไรเองเลย ก็สามารถเข้ามาทำงานพื้นฐาน เช่น สื่อสารพูดคุย แสดงออก สร้างสรรค์ชิ้นงาน บนแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้

The rise of social media and other forms of user-generated content defined Web2 because the successful tech companies of this era made making things on the internet very easy. More simply, Web2 became worth a lot because it served basic human needs (contact, expression, creation, etc.) with an understanding that most humans aren’t terribly technical, or at a minimum tend to privilege convenience and ease.

ความสำเร็จและความร่ำรวยของบริษัท Web2 เกิดจากการนำเสนอโซลูชันแก้ปัญหาให้มนุษยชาติจำนวนมาก แต่ Web3 กลับเริ่มต้นที่โซลูชันก่อน (กระจายศูนย์!!!) แล้วค่อยมาหาว่าอะไรคือปัญหา (อ้าว ไม่มีนี่นา)

บทความเสนอว่าปัญหาของชาว Web3 นั้นมองข้ามวิธีคิดของมนุษย์ไป และพยายามถอดมนุษย์ออกจากระบบด้วยซ้ำ (smart contract / code is law) แนวคิดแกนกลางของ Web3 คือการเชื่อมั่นในเทคโนโลยีเกินไป และมีความเป็นมนุษย์น้อยเกินไป

Web3 is particularly prone to ignoring human-oriented thinking because much of the technology is designed to remove as much of the human element as possible — it’s the basic premise of beliefs like “code is law.” The current Web3 landscape is defined by overconfidence in technology and underthinking about the human element involved with the technology.

ทีนี้พอเราหันมาหยิบเรื่อง Metaverse เข้ามาประกอบด้วย (ถึงแม้นิยามของมันจะไม่มีขอบเขตหรือเส้นแบ่งที่ชัดเจนเท่าไร ดูบล็อกในชุด Metaverse ประกอบ)

ตอนนี้แพลตฟอร์มเกมที่มีคนเล่นจำนวนมากอย่าง Roblox หรือ Fortnite นั้นมีความเป็น Web2 อยู่มาก เหตุผลก็เหมือนกันคือ บริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง Roblox หรือ Epic นำเสนอเครื่องมือต่างๆ ให้ผู้เล่นสร้างสภาพแวดล้อม 3D ของตัวเองได้ง่ายมากๆ โดยไม่ต้องสนใจเทคโนโลยีที่รันอยู่ข้างใต้เลย

ในทางกลับกัน Web3 กลับไม่ได้เสนออะไรดีๆ ให้ Metaverse เลย ลองคิดถึงการสร้าง Metaverse ที่กดเริ่มเกมไม่ได้ทันที แต่ต้องมาเซ็ตอัพระบบกระจายศูนย์ที่วุ่นวาย (และเอาจริงๆ คือไม่จำเป็นต้องมีในทางเทคนิค) มันก็ไม่น่ารอดแล้ว

While the possibilities of decentralization may be attractive, few of these potential advantages have come to fruition, and what is left is inconvenient tech structured and restricted for maximum financial gain.

แถมโลก Web3 ยังมักมาพร้อมกับแนวคิดเรื่อง NFT, token ที่หยิบเอารางวัลหรือผลตอบแทนทางการเงิน (financial rewards) มาเป็นจุดตั้งต้นก่อน มันจึงละเลยจุดสำคัญของ Metaverse เรื่องความสนุก (fun) ลงไปซะแต่แรก

A bias toward greed and financialization is shaping the future of Web3 in a way that not only doesn’t attend to basic human needs but is becoming an impediment to societal trust around the technology more generally. The problems being solved are entirely focused on extrinsic needs such as financial rewards and not at all on intrinsic needs like human connection, satisfaction, the pleasures of fun, or otherwise. Gaming solves these needs for humans, and the most successful platforms in Web2 did the same.

วิธีคิดแบบ Web3 ยังนำเสนอเรื่อง exclusivity ของมีจำนวนน้อย เอ็กซ์คลูซีฟ (เช่น การขาย NFT หรือที่ดินเสมือน) โดยมีจุดประสงค์เพื่อดันราคาให้แพง แต่บทความก็ตั้งคำถามกลับว่า ทำไมในโลกดิจิทัลที่มีทรัพยากรจำนวนไม่จำกัด ทำซ้ำได้ไม่จำกัด เราต้องมาสร้าง exclusivity แบบปลอมๆ ด้วย เหตุผลก็มีข้อเดียวคือทำให้ของมันหายาก (scarcity) จนมีราคาขายได้แพงๆ

why do we need exclusivity in a world where the infinite is possible, if not for the sole purpose of financializing scarcity?

ผู้เขียนมาจากบริษัทเกม จึงถือโอกาสสั่งสอนชาว Web3 ว่าการจำกัดจำนวนในเกม มีเหตุผลเพื่อให้ประสบการณ์การเล่นเกมมันสนุกและท้าทายขึ้นเท่านั้น

Comparatively, limits have explicit purpose in a game environment — a good game imposes limits for the purposes of making an experience engaging for the player (what is golf if not for a very limit-defined way to move a ball towards a goal?)

บทความสรุปว่า Metaverse จะมีความเป็น Web2 โดยธรรมชาติ ก็ด้วยเหตุผลเดียวกับที่แพลตฟอร์ม Web2 รุ่งเรือง บริษัทจำพวก “ตัวกลางในระบบรวมศูนย์” ร่ำรวย ก็มาจากเหตุผลข้อเดิมคือ มันทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

there will be natural gravitation toward the Web2 model for the same reasons that Web2 platforms came to prominence and various middle agents have always existed — they make complicated things easy. Humans often don’t care about the technology per se, they care about the value it provides them