ประสบการณ์อัพเกรด Drupal 7 เป็น Drupal 8

เพิ่งเข้าสู่อาณาจักร Huawei ยังใช้ท่าแปลกๆ ไม่ค่อยเป็น มาจดท่าเก็บไว้หน่อย
อ้างอิง XDA
ส่วนการแฟลชรอม ให้สร้างโฟลเดอร์ dload ใน SD Card (ต่อสาย USB แล้วเมาท์เป็น data) จากนั้นเอาไฟล์ update.app ก็อปลงไปในโฟลเดอร์ dload
ใช้มือถือซัมซุงมา 4-5 ปี รวมถึงเครื่องรีวิวอีกน่าจะเกินสิบเครื่อง ปกติเวลาได้เครื่องใหม่มา จะใช้วิธี clean install ทุกอย่างใหม่หมดเสมอ ด้วยอารมณ์อยากให้เครื่องใหม่คลีนๆ ไม่มีอะไรตกค้าง เลยไม่เคยลองใช้ฟีเจอร์ restore ข้อมูลข้ามเครื่องมาสักครั้ง
ล่าสุดวันก่อนได้เครื่องรีวิวมาอีกเครื่อง แล้วมันยุ่งๆ ขี้เกียจมานั่งละเมียดละไม ลงแอพทีละตัว (เพราะเป็นเครื่องรีวิวเดี๋ยวก็ต้องคืน) เลยมีโอกาสได้ใช้ฟีเจอร์ Smart Switch เป็นครั้งแรก (ชาวบ้านเขาใช้กันไปหมดโลกแล้ว!!!) พบว่ามันเจ๋งมาก จนต้องมาเขียนลงบล็อกไว้สักหน่อย
บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ [สู่ฝันบ้านสมาร์ทโฮม]
ซื้อ Amazon Echo Dot มาจากอเมริกาสองตัว แต่ก็แทบไม่ได้ใช้งานเพราะ 1) เป็นช่วงที่บ้านต้องการความเงียบ 2) ไม่รู้จะเอามาใช้ทำอะไรนอกจากเปิดเพลง ซึ่งพอหมด Amazon Prime ช่วงลองใช้ฟรีแล้ว ก็ไม่ได้สมัคร Spotify Premium ที่เข้ามาในบ้านเราพอดี (แถมหลังๆ ใช้วิธีเปิดจาก YouTube ขึ้น Chromecast แล้วปิดจอทีวีเอาแทน)
อย่างไรก็ตาม Echo เพิ่งได้ฟีเจอร์ใหม่ ที่ให้มันเป็น intercom พูดคุยกับคนในอีกห้องได้ เมื่อสบโอกาสก็เลยลองหาดูว่ามันทำอย่างไร
มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนโทรศัพท์เครื่องใหม่ เลยต้องย้ายตัว code generator สำหรับทำ 2-factor authentication ด้วย เพิ่งเคยทำเป็นครั้งแรกก็จดไว้หน่อย
ขั้นตอนจริงๆ ไม่มีอะไรยาก เพราะลงแอพ code generator (ผมใช้ Google Authenticator แทบทุกคนก็น่าจะใช้ตัวนี้กันแหละ) ในเครื่องใหม่ แล้วสแกนบาร์โค้ดจากเว็บไซต์ต้นทางก็เรียบร้อย
อันที่ยากคือ เมนูหรือปุ่มสำหรับสแกนโค้ดในเว็บไซต์แต่ละแห่ง มันอยู่ตรงไหนกันแน่
มีเหตุให้ต้องไปช่วยย้ายเว็บไซต์แห่งหนึ่ง โดยเป็นการย้ายโดเมนเนม (URL) บนโฮสต์เดิม ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไรถ้าหากเราสนใจแค่ตัวเว็บไซต์ (เปลี่ยนชื่อ URL ในโฮสต์ และใน Database/Config ของตัว CMS ก็จบแล้ว)
แต่พอมีเงื่อนไขตามมาว่า เป็นการย้ายบนระบบ Plesk ที่ติดตั้ง WordPress ในรูปเว็บแอพพลิเคชันของ Plesk เอง (กดอัพเดตอัตโนมัติจาก Plesk ได้) และย้ายแบบให้ Google Search เห็นว่าย้าย ถูกต้องตามหลัก SEO ด้วย เลยมีความซับซ้อนขึ้นมาอีกพอสมควร
ทำเสร็จแล้วก็มาจดขั้นตอนเก็บไว้ ดังนี้ (อ้างอิงการใช้งานตาม Plesk เวอร์ชัน 12.5)
เจอโจทย์ว่าย้ายเว็บที่เป็น WordPress (ในทีนี้คือโฮสต์เดิม เปลี่ยนแค่ URL) แล้วพบปัญหาไม่สามารถล็อกอินได้
อาการคือเข้าหน้า wp-login เจอช่องกรอก username/password แล้ว กดล็อกอินไปจะกลับมาหน้าเดิมอีกครั้ง ไม่สามารถเข้ามายังหน้า dashboard ได้
ปัญหานี้เกิดจากเราเปลี่ยน URL ของเว็บไซต์ แม้ว่าจะแก้ URL ในฐานข้อมูล (siteurl และ home) แล้วก็ตาม อาจยังไม่เป็นผล
ทางแก้คือให้เพิ่ม 2 บรรทัดนี้เข้าไปในไฟล์ wp-login.php
update_option('siteurl', 'http://www.newurl.com' );
update_option('home', 'http://www.newurl.com' );
ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มีเวลา เลยลองเล่น TensorFlow ดู (สำหรับคนที่ไม่รู้จักว่า TensorFlow คืออะไร อ่าน)
ตอนแรกพยายามติดตั้งบนลินุกซ์ ใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่นาน พบว่า TensorFlow นี่เข้มงวดกับเวอร์ชันของซอฟต์แวร์มาก ต้องใช้เวอร์ชันที่ระบุไว้ในเอกสารเท่านั้น เก่าเกินหรือใหม่เกินไปก็ไม่ได้
สำหรับตอนนี้ (กรกฎาคม 2017) การติดตั้ง TensorFlow 1.2 บนลินุกซ์ ต้องใช้เวอร์ชันซอฟต์แวร์ดังนี้ (อ้างอิง Installing TensorFlow on Ubuntu)
เนื่องจากได้คอมพิวเตอร์ใหม่ (Acer V17 Nitro VN7-793G) มานานพอสมควร และอยากติดตั้ง Ubuntu แบบเนทีฟดูบ้าง งานดูเหมือนง่ายเพราะชีวิตนี้ลงลินุกซ์มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่ผลคือลงเสร็จเรียบร้อย บูตแล้วยังไงก็เข้าหน้า Windows เหมือนเดิม
นั่งไล่อาการดูแล้ว พบว่าเกิดจากคอมตัวนี้ค่อนข้างใหม่ เปลี่ยนมาใช้ UEFI แทน BIOS และมีระบบ Secure Boot เพื่อป้องกันการบูตระบบปฏิบัติการอื่นๆ (นอกจาก Windows) ทำให้ไม่ว่าบูตยังไงก็ได้ Windows เสมอ
ขั้นตอนการแก้ไข แบ่งออกเป็น 3 ขั้นดังนี้
จะใช้ทีไรลืมทุกที มาจดไว้ก่อน (เข้าใจว่าใช้กับซัมซุงได้ทุกรุ่น)
Fastboot / Download Mode / ODIN
Recovery Mode