เมื่อสักครู่ผมเดินไปซื้อชาเย็นจากรถเข็นข้างถนน 15 บาท ระหว่างรอคนขายชงชา ก็ได้ยินบทสนทนาระหว่างคนขายกับลูกค้าประจำที่นั่งอยู่แถวนั้น ข้อความอาจไม่ตรงนักแต่ใจความประมาณนี้
> "แมนยูน่าจะป้องกันแชมป์ได้ทั้งสองอันที่เหลืออยู่"
> "พรีเมียร์ลีกน่ะได้ชัวร์อยู่แล้ว แต่แชมเปี้ยนส์ลีกนี่ 50:50 นะ"
> "ถ้าอาร์เซนอลไม่ยอมซื้อตัวเก่งๆ ซื้อแต่เด็ก ก็อีกนานกว่าจะกลับมายิ่งใหญ่อีก"
ฯลฯ
ผมยืนฟังเงียบๆ ไม่พูดอะไร แต่ในใจรู้สึกว่ามันเป็นการวิเคราะห์ที่เป็นเรื่องเป็นราวมาก!
ผมไม่คิดว่าบทสนทนาในลักษณะนี้จะอยู่แต่เฉพาะรถเข็นขายชาเย็นข้างถนนเท่านั้น เราจะพบบทสนทนาแบบเดียวกันนี้ทั่วไปตามวินมอเตอร์ไซด์ ในแท็กซี่ คนขายของในซูเปอร์มาร์เก็ต ยาม ฯลฯ นี่ยังไม่รวมอาชีพชนชั้นกลางอีกมากที่ผมจงใจละเอาไว้ ไม่แน่ว่าเราอาจเดินผ่านคนกวาดขยะที่กินข้าวพักเที่ยง หรือเกษตรกรที่กำลังดำนาไปคุยกันไป แล้วได้ยินบทสนทนาว่า
> "บาร์ซาจะเป็นแชมป์หรือเปล่า"
> "ถ้าจับเมสซีดีๆ แล้วกันลูกกลางอากาศในแน่นๆ ก็เสร็จผี"
ประเด็นของผมก็คือ "คนชั้นล่าง" ที่คนชั้นกลางเคยดูถูกว่า "โง่ ไร้การศึกษา ขายเสียง ตกเป็นเหยื่อนักการเมือง" กลับมีบทสนทนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความลุ่มลึกในการวิเคราะห์ไม่ด้อยไปกว่าคนชั้นกลางเลย (เผลอๆ เหนือกว่าด้วย) เป็นไปได้ไหมว่าคนชั้นกลางอย่างเราๆ จะต้องย้อนกลับมาวิเคราะห์กรอบความคิดและความเชื่อของตัวเองเสียใหม่ว่าแท้จริงแล้ว คนรากหญ้านั้นโง่จริงหรือ?
แน่นอนว่ามันเป็นแค่ข้อสันนิษฐาน ไม่ใช่ข้อสรุป ยังมีคำถามอีกมากให้ขบคิดต่อ
* บทสนทนาเชิงวิเคราะห์ลักษณะนี้จะมีอยู่นอกโดเมนของฟุตบอลหรือไม่? ถ้าไม่ ทำไมมันถึงเกิดกับฟุตบอลเท่านั้น, ถ้าใช่ ลักษณะร่วมกันของมันคืออะไร
* เราประสบความล้มเหลวในการสอนคนให้คิดวิเคราะห์เป็นเหตุเป็นผลในเชิงตรรกะ ผ่านการสอนในห้องเรียน ทำไมฟุตบอลกลับประสบความสำเร็จแบบนั้นได้?
* เราสามารถนำบทเรียนพวกนี้กลับมาประยุกต์ใช้ สำหรับการเรียนการสอน การอบรมแบบ "ในกรอบ" (ในที่นี้คือ orthodox) ได้หรือเปล่า?
* โครงสร้างทางวัฒนธรรม-สังคม ของไทยนั้นเป็นอย่างไร ทำไมฟุตบอลต่างประเทศจึงใช้เวลาไม่นานนัก (10-20 ปี) ถึงเจาะเข้ามายังชีวิตประจำวันของผู้ชายไทยกลุ่มใหญ่ได้ขนาดนี้
Keyword
1. ถ้าลด (เอาแค่ลด
ผมว่าตัวเร่งปฏิกริยาของเรื่อง
เพราะโต๊ะบอล นะเรื่องจริง
ถ้าฟังที่เค้าคุยกันต่อจะมี
เห็นด้วยว่า คนชอบดูบอล
ผมรู้สึกว่าคนรากหญ้า