พยายามนั่งอ่านเปเปอร์สำหรับ literature review เจอเปเปอร์อันหนึ่งใช้กรอบวิเคราะห์เรื่อง regulation (ภาษาไทยน่าจะแปลว่า การควบคุม?) ของ Lawrence Lessig ในหนังสือ [Code and Other Laws of Cyberspace](http://codev2.cc/) เลยมาจดไว้ก่อน
ผมพยายามจะอ่านหนังสือของ Lessig ทั้ง Code และ Free Culture มาหลายรอบแล้วแต่ไม่สำเร็จ นอกจากความขี้เกียจส่วนตัวแล้วรู้สึกว่า Lessig ขี้โม้ไปหน่อย เกริ่นนานมากกว่าจะเข้าประเด็นสำคัญ ยังไม่มีอารมณ์ละเมียดละไมอยากอ่านทุกตัวอักษรขนาดนั้น พอมีคนมาสรุปให้เลยสบายไปหลาย
Lessig เสนอว่า การควบคุมพื้นที่หรือวัตถุใดๆ (เช่น ประเทศ หรืออินเทอร์เน็ต) จะสามารถทำได้ 4 วิธี
1. ผ่านกฎหมาย (law) - หรือกฎระเบียบ เป็นคำสั่งที่มีบทลงโทษถ้าฝ่าฝืน และรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจนี้
2. ผ่านกลไกตลาด (market) - โดยใช้ราคาเป็นตัวกำหนด ตามหลักเศรษฐศาสตร์
3. ผ่านบรรทัดฐานของสังคม (social norm) - ใช้ "ความแปลกแยก" เป็นตัวควบคุม ใครคิดแปลกแยกจากบรรทัดฐานของสังคมจะโดนรังเกียจ เช่น ไม่ยืนในโรงหนังจะโดนปาของใส่
4. ผ่านสถาปัตยกรรม (architecture หรือ "code" ตามชื่อหนังสือ) - code ในที่นี้หมายถึงข้อจำกัดหรือข้อกำหนดทางเทคนิค ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างตั้งใจตั้งแต่ตอนออกแบบ
ข้อ 4 "code" เป็นประเด็นหลักของ Lessig โดยเขาเสนอว่าพื้นที่ในไซเบอร์สเปซนั้น law ที่เคยใช้ได้ในโลกจริง จะมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก (ดูจากกรณี YouTube ของพี่ไทยได้ ชัดเจนมากๆ) ดังนั้นสิ่งที่เข้ามาแทนคือ code หรือกฎเกณฑ์ทางคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่ง Lessig สร้างสโลแกนของเรื่องนี้ตรงไปตรงมาว่า "code is law"
ในเปเปอร์ใช้ตัวอย่างการใช้ regulator ทั้ง 4 แบบกับนักปล่อยสแปมรายหนึ่ง
1. กฎหมายสแปม เอาสแปมเมอร์เข้าคุกได้ (ถ้าจับได้)
2. ถ้าค่าใช้จ่ายในการส่งสแปมสูง (เช่น ค่าคอม ค่าอินเทอร์เน็ต) หมอนี่อาจจะเลิกส่งสแปมได้
3. ถ้าเพื่อนรู้ว่าเป็นนักส่งสแปม อาจเลิกคบ พ่อแม่รู้อาจตัดจากกองมรดก
4. ISP อาจกำหนดว่า ห้ามผู้ใช้หนึ่งคนส่งเมลได้เกินกี่ฉบับต่อวัน เพื่อเป็นการล้อมกรอบสแปม
ตัวอย่างอีกอันเสนอว่า ถ้าเอาโมเดลนี้ไปมองเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยด้วยอินเทอร์เน็ต วิธีที่ 4 "code" คือ เทคนิคการเข้ารหัสลับ (encryption) ซึ่งจะช่วย NGO ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ และในมุมกลับกัน การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต (filtering) จะช่วยให้รัฐบาลกดหัวฝ่ายตรงข้ามได้ง่ายขึ้น (เช่น กรณีจีนกับทิเบต หรือฝ่าหลุนกง)
สำหรับผู้สนใจ [เปเปอร์หาอ่านได้ที่นี่](http://mikeb.inta.gatech.edu/uploads/papers/democratic.best.wade.pdf) (PDF) มาจาก Gatech
อืมม regulation
อืมม regulation นี่เป็น ระเบียบข้อบังคับ หรือ การวางระเบียบข้อบังคับ
คือไม่ได้ไป 'ควบคุม' ในแง่ 'ให้ทำ' อย่างนั้นอย่างนี้
แต่ 'คุม' 'ไม่ให้ทำ' อย่างนั้นอย่างนี้
ผมเลือกไม
ผมเลือกไม่ใช้คำว่า "ระเบียบข้อบังคับ" เพราะตามความหมายของภาษาไทยแล้ว มันจะเท่ากับ law เพียงอย่างเดียว ซึ่งผิดความหมายไป
แต่ก็เห็นด้วยว่า "ควบคุม" มันไปชนกับคำว่า control