[Finished] Gunnm: Last Order

เขียนถึง Gunnm Last Order ไว้ตั้งแต่ปี 2005 ผ่านมาเกือบ 12 ปีก็ได้อ่านจนจบ (คอมมิกฉบับภาษาไทยออกไม่จบ เพราะญี่ปุ่นเปลี่ยนสำนักพิมพ์ เลยต้องอ่าน scanlation ฉบับภาษาอังกฤษจนจบ)
aka Manga
เขียนถึง Gunnm Last Order ไว้ตั้งแต่ปี 2005 ผ่านมาเกือบ 12 ปีก็ได้อ่านจนจบ (คอมมิกฉบับภาษาไทยออกไม่จบ เพราะญี่ปุ่นเปลี่ยนสำนักพิมพ์ เลยต้องอ่าน scanlation ฉบับภาษาอังกฤษจนจบ)
Beck ของ Harold Sakuishi ถือเป็นการ์ตูนแนว coming of age ที่ผมชอบมากเรื่องหนึ่ง และถือว่าเป็นการ์ตูนที่อ่านซ้ำได้เรื่อยๆ เพราะถึงแม้รู้เรื่องทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อหยิบมาอ่านแล้วรู้สึกมีไฟ มีพลังในการมุ่งหน้าเดินตามความฝันต่อไป
ถ้ามีโอกาสแนะนำการ์ตูนให้วัยรุ่นประมาณ ม.ปลาย - มหาวิทยาลัยอ่าน หนึ่งในลิสต์ย่อมต้องมี Beck อย่างแน่นอน
หลังจาก Beck อวสาน ก็ไม่ได้ติดตามอะไรอีก จนเมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมารู้ว่า Harold Sakuishi มีผลงานเรื่องใหม่ตั้งแต่ปี 2012 ชื่อว่า Rin (คือมารู้ว่ามี ตอนที่ Rin อวกาสแล้วด้วย ตกข่าวไปหลายปี) เลยลองไปหามาอ่านดู
[ไม่สปอยล์]
การ์ตูนเรื่องล่าสุดที่มีคนแนะนำให้อ่าน เป็นการ์ตูนเรื่องใหม่ของ Jump (เริ่มลงเดือนกรกฎาคม 2014) แนวเรื่องเป็นโชเนนลายเส้นสวยสะอาดตา เนื้อหาจับตลาดเด็กผู้ชายวัยกำลังเติบโต 100% (ไม่มีโป๊ ไม่มีดาร์ค ไม่มีแปลก)
My Hero Academia หรือชื่อญี่ปุ่น Boku no Hero Academia เป็นการ์ตูนแนวชั้นเรียน (classroom) ที่จับเด็กวัยกำลังเริ่มจะรุ่นมาอยู่ด้วยกัน เติบโตผ่านสถานการณ์ไปด้วยกัน โดยมีฉากหลัง (settings) เป็นโลกของ "ฮีโร่" ประเทศญี่ปุ่นร่วมสมัยที่ทุกคนสามารถมีพลังพิเศษและเป็นฮีโร่ได้ ลักษณะเดียวกับเรื่อง One-punch Man
[สปอยล์]
บากิ เป็นการ์ตูนที่เคยติดตามแบบใกล้ชิดสมัยเรียนมหาลัย เหตุเพราะมีพี่ในชมรมซื้อ Viva Friday เป็นประจำ เลยมีโอกาสได้ติดตามแบบตอนต่อตอนทุกสัปดาห์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ลองคิดถึงตอนโดปโปะมือขาด แล้ว "อ่านต่อสัปดาห์หน้า" นะครับ)
แต่เนื่องจากเป็นการ์ตูนที่ไม่ได้ซื้อสะสม พอเรียนจบแล้วเลยต้องใช้วิธีไปยืมอ่านจากเพื่อนบางคนที่ยังตามซื้ออยู่ พอช่วงหลังตามการ์ตูนน้อยลง เลยพลอยไม่ได้ตามอ่านไปโดยปริยาย
การต่อสู้ของบากิกับยูจิโร่จบลงในปี 2012 (แต่ล่าสุดพี่เล่นออกภาค 4 แล้วซะงั้น) ถึงแม้ผมจะอดใจไม่ไหวแอบไปอ่านสปอยล์มาบ้างแล้ว แต่การได้อ่านเรื่องทั้งหมดแบบเต็มๆ ก็ย่อมเป็นประสบการณ์ที่ดีกว่าอยู่ดี
กฎเหล็กของการอ่านบากิคือ "อย่าสนใจเหตุผลเยอะ" เพราะถ้าสนใจเหตุผลแล้วจะพลอยอ่านไม่สนุกไป
หลังจากเขียนมา 15 ปี "นารุโตะ" อวสานไปเมื่อปีที่แล้ว เรื่องนี้ผมไม่ได้อ่านรายสัปดาห์ ซื้อแต่รวมเล่ม (แถมซื้อช้าอีกตะหาก) เพิ่งได้อ่านตอนจบ ก็มาเขียนบันทึกไว้เป็นที่ระลึกสักหน่อย
ต้องบอกว่าตอนแรกผมไม่ได้สนใจนารุโตะมากนัก จนมีเพื่อนมาแนะนำให้อ่าน (มาอ่านเอาช่วงที่เริ่มสอบจูนินแล้ว) พบว่ามันเป็นการ์ตูนแอคชั่นเด็กผู้ชาย (โชเนน) รุ่นใหม่ที่สนุกมาก ถึงแม้คาแรกเตอร์ตัวละครจะตามแบบฉบับตัวเอกเลือดร้อนคิดน้อยไปสักหน่อย
จุดที่พีคที่สุดก็คือช่วงสอบจูนินจนถึง "ถล่มโคโนฮะ" จากนั้นแผ่วลงหน่อยตอนตามหาซึนาเดะ แต่ก็ปิดฉากภาคแรกลงอย่างคลาสสิคและสวยงาม
จนกระทั่งขึ้นภาคสองนั่นแหละ!
แต่ไหนเลยอ่านมาขนาดนั้นแล้วก็ต้องตามต่อให้จบครับ
ในที่สุด การเดินทางอันยาวนานของเรือรบ "มิไร" และคนอ่านการ์ตูน Zipang ก็สิ้นสุดลงด้วยความยาว 43 เล่มถ้วน
ผมเคยเขียนบล็อกเกี่ยวกับ Zipang มาหลายครั้ง ในโอกาสที่ Zipang อวสาน ก็ควรเขียนบล็อกเป็นที่ระลึกสักหน่อย เป็นสรุปความคิดแบบง่ายๆ เร็วๆ ว่าคิดอะไรบ้างหลังอ่าน Zipang จบ (แน่นอนว่า spoil นะครับ)
วันก่อนดู Dragon Ball ภาคหนังโรงตอนใหม่ล่าสุด Battle of Gods แล้วสงสัยเรื่องระดับชั้นของ "เทพ" ที่ปรากฏตัวในเรื่อง (หนังไม่สนุกหรอกนะครับ ไม่ต้องดูก็ได้)
ไปค้นข้อมูลใน Dragon Ball Wikia แล้วพบสิ่งที่น่าตกตะลึง!!! เพราะการ์ตูนผู้ชายต่อยกันอย่างดราก้อนบอลมีระบบจักรวาลที่ซับซ้อนกว่าที่คิดมาก!!!
กำลังอ่านการ์ตูนเรื่อง Kingdom ว่าด้วยประวัติศาสตร์สงครามจีนยุค 7 รัฐก่อนราชวงศ์ฉินสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้รวมประเทศ มีพูดถึงนายพลดังๆ ในยุคสงครามเจ็ดรัฐ (Warring States)
ยุคนี้มีสุดยอดนายพล 4 คน โดยแบ่งออกเป็นฝ่ายรัฐเจ้า (Zhao) 2 คน และรัฐฉิน (Qin) 2 คน เรียงตามลำดับอายุน่าจะประมาณนี้
ในบรรดานักวาดการ์ตูนที่โดดเด่นในแง่ลายเส้นย่อมต้องมีชื่อของอาจารย์ Takeshi Obata แห่ง Hikaru no Go, Deathnote, Bakuman อยู่เป็นแน่แท้ (ผมเคยอ่านงานของแกมาตั้งแต่สมัยอาราเบียนแลมป์ แต่แกมาดังกับฮิคารุจริงๆ)
หลังจากจบเรื่อง Bakuman (ที่ช่วงกลางเรื่องสนุกมาก แต่ตอนหลังๆ เนือยไปหน่อย) อาจารย์แกก็หายไปพักหนึ่ง จากนั้นก็ได้ยินว่าแกไปเขียนเรื่องใหม่ชื่อ All You Need Is Kill ก็ไม่ได้สนใจมากนัก คือรอมันออกรวมเล่มในไทยแล้วค่อยว่ากัน
ภายหลังมาพบว่าต้นฉบับของ All You Need Is Kill เป็นนิยาย และถูกนำไปดัดแปลงเป็นหนังฮอลลีวู้ด Edge of Tomorrow ด้วย (ได้ทอม ครูซ มาเป็นพระเอกเลยนะ) ช่วงที่หนังเข้าฉายในไทย การ์ตูนก็ออกมาในจังหวะไล่เลี่ยกัน (2 เล่มจบ ฉบับภาษาไทยออกครบแล้ว)
ข้อดีประการหนึ่งของยุทธจักรกันดั้มคือ คอมิกและไซด์สตอรี่ต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาเรื่อยๆ ให้เราได้เสพแง่มุมต่างๆ ของจักรวาลเดิม (ถึงขนาดมีนิตยสาร Gundam Ace ที่ทำหน้าที่นี้เป็นการเฉพาะ!)
คอมิกเรื่องล่าสุดที่สยามอินเตอร์เพิ่งพิมพ์ฉบับภาษาไทย และดีมากจนต้องเอามาเขียนลงบล็อกคือ กองร้อยม้าเหล็ก หรือชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็มๆ คือ Mobile Suit Gundam U.C. Hardgraph: IRON MUSTANG