สมัยเด็กๆ ผม (และน่าจะคนอื่นๆ ด้วย) ก็รับทราบจากแบบเรียนว่าภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยของพระพุทธเจ้า โดยศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลีที่เข้าถึงมวลชนมากกว่า และภาษาสันสกฤตมีตัวอักษรมากกว่าภาษาบาลี เช่น ฤ ฤา อะไรแบบนี้ (ต้องท่องไปสอบ)
พอโตขึ้นมาไม่ได้ประกอบอาชีพด้านภาษา และไม่ได้หาเรื่องไปค้นต่อ ความรู้เรื่องนี้ของผมหยุดอยู่แค่นั้น
พอมาอ่านหนังสือ [ภารตวิทยา](http://isriya.com/node/3648/nationalism-reinterpreted) พบว่าผู้เขียน กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย อธิบายเรื่องนี้ไว้ละเอียด น่าสนใจมาก
### กำเนิดภาษา
อารยธรรมอินเดียมีกำเนิดมาจาก "เผ่าอารยัน" (Aryan) ที่เดิมทีก็ไม่ได้อยู่ในอินเดียปัจจุบัน แต่อยู่แถวๆ อิหร่าน-อัฟกานิสถานในปัจจุบัน แล้วค่อยๆ บุกเข้ามาทางปากีสถานในปัจจุบัน และครอบครองอินเดียฝั่งเหนือ ต่อสู้กับชนเผ่าพื้นเมืองเดิม (ที่ไม่มีชื่อเรียกชัดเจน) และเผ่าทราวิฑ (Dravidian) ทางตอนใต้ สถาปนาเป็นอารยธรรมอินเดียขึ้น
การรุกเข้ามาของอารยันในอินเดีย ก่อให้เกิด "คัมภีร์พระเวท" (Veda ใน Gundam 00 น่ะเอง) และศาสนาพราหมณ์ ที่ปัจจุบันยังหาจุดกำเนิดที่แน่ชัดไม่ได้ แต่สรุปๆ คืออารยธรรมอินเดีย-พราหมณ์มีแกนหลักอยู่ที่ "พระเวท" (แบบเดียวกับ [อารยธรรมยิวต้องยึดกับคัมภีร์ Old Testament](http://isriya.com/node/3559/a-brief-history-of-israel))
ภาษาที่ใช้ในอารยธรรมอินเดียยุคแรกถูกเรียกว่า "ภาษาพระเวท" ซึ่งภายหลังก็พัฒนาตัวเองออกไปเป็นภาษาอื่นๆ ในตระกูลเดียวกันอีกมาก แต่สายหลักๆ ก็มีสองสายคือ
- สันสกฤต (Sanskrit) ซึ่งเป็นตัวแทนของอารยธรรม-ศาสนาแบบพราหมณ์
- บาลี (Pali) ซึ่งเป็นตัวแทนของอารยธรรม-ศาสนาแบบพุทธ
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าพุทธหรือพราหมณ์เป็นคนคิดสองภาษานี้ แต่เลือกจะนำภาษาที่มีอยู่แล้วมาใช้สื่อสารในกลุ่มของตัวเอง จนกลายเป็นภาษาประจำกลุ่มไป
ภาษาสันสกฤตเป็นตัวแทนของคนชั้นสูง เป็นภาษาที่วรรณะพราหมณ์ใช้พูดกัน มีรูปแบบที่ "รุ่มรวย" (หรือถ้ามองในแง่ลบก็ต้องเรียกว่า "รุงรัง") ส่วนบาลีเป็นภาษาที่คนในสมัยนั้นสื่อสารกันจริงๆ ความซับซ้อนก็จะน้อยกว่า
ทั้งสองภาษาถูกใช้ในอารยธรรมพุทธ-พราหมณ์ ซึ่งสองอารยธรรมนี้ก็ผลัดกันครองความเป็นเจ้าในอินเดียมานานเป็นพันปี ก่อนที่สุดท้ายจะ "แพ้ทั้งคู่" ให้กับอารยธรรม-ศาสนาอิสลามที่เข้ามาตอนหลัง ซึ่งใช้ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาของราชสำนัก (และต่อมาก็ประดิษฐ์ภาษาอูร์ดู ขึ้นมาเป็นสะพานระหว่างอิสลาม-พราหมณ์ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นภาษาราชการของปากีสถาน)
ภาษาบาลี-สันสกฤตเลยกลายเป็นภาษาที่ตายไปจากนั้น เพราะหมดยุคอิสลามในอินเดีย ก็ต่อด้วยยุคอาณานิคมของอังกฤษอีกก๊อกหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม งานวรรณคดีจำนวนมากของอินเดียยังอยู่ในรูปบาลี-สันสกฤต ทำให้ตอนนี้สองภาษานี้มีสถานะเป็นภาษาโบราณแบบเดียวกับภาษาละตินของฝั่งยุโรปนั่นเองครับ (หรือจะมองว่าเป็นคู่ "กรีก-โรมัน" ก็ได้เหมือนกัน)
ทั้งสองภาษานี้เขียนได้ด้วยตัวอักษรหลายแบบ แต่แบบที่ใช้กันในพื้นที่คือตัวอักษรเทวนาคลี หรือ Davanagari (ตัวอย่าง = नागरी) ซึ่งพอมาใช้ในบ้านเราก็ใช้เสียงของบาลี-สันสกฤต แต่สะกดด้วยตัวอักษรไทยแทน
### บาลี vs สันสกฤต
ภาษาไทยยืมคำจากบาลี-สันสกฤตมาเยอะมาก แต่เผอิญเราใช้กันจนชิน+ใช้โดยไม่สนใจอะไร เลยไม่ค่อยรู้ว่าคำไหนมาจากบาลี-สันสกฤตบ้าง (ตอนอ่านหนังสือแล้วจะ อ๋อๆๆๆ)
จุดที่น่าสนใจคือ คำที่มีความหมายเดียวกันในบาลีและสันสกฤต แต่ออกเสียงต่างกัน พอมาเป็นคำในภาษาไทยแล้ว บางทีก็มีความหมายต่างกันไปด้วย (ทั้งที่ต้นฉบับมีความหมายเดียวกัน)
ตัวอย่างคำที่มีความหมายเหมือนกัน [สันสกฤต] [บาลี] = [ไทย]
* อัคนี, อัคคี = ไฟ
* หฤทัย, หทัย = ใจ
* สิงห์, สีห์ = สิงโต
* สูรย์, สุริยะ = อาทิตย์
* วัชระ, วชิระ = สายฟ้า
* ศิลปะ, สิปปะ = ศิลปะ
คำที่มีความหมายเริ่มต่างกัน หรือใช้ในบริบทต่างกัน
* ไมตรี, เมตตา = เมตตา
* มัธยม, มัชฌิมา = กลาง
* ประถม, ปฐม = ต้น
* โทษ, โทสะ = ความทุกข์
* อาจารย์, อาจริย/อาเจรา = ครู
* เสน่ห์, สิเน่หา = ความรัก
* ศัพท์, สัททะ = เสียง/คำพูด
* อารยะ, อริยะ = ความเจริญ
* อาชญา, อาณา = อำนาจ/โทษ
* สัตย์, สัจจะ = ความจริง
คำที่กลายเป็นสองคำไปเลย
* อาศจรรย์, อัจฉริยะ = ความแปลก
* ราษฎร, รัฎฐะ = ประชาชน/เขตแดน
* สถาน, ฐาน = ที่ตั้ง
* วิสดาร, วิตถาร = ความหมายเดิมคือ "ละเอียด"
* เกษตร, เขตต์ = ความหมายเดิมคือ "พื้นที่/ขอบเขต"
เสริมคุณmkอีกนิด
เสริมคุณmkอีกนิด
ผมศึกษาพุทธศาสตร์มาบ้าง เท่าที่จำได้ คำแปลต้นฉบับของ "สิเนหะ" คือ "ยางเหนียว"
อธิบายคือ ผู้ใดก็ตามได้หลงในรสกามคุณเสียแล้ว(หรือ..หลง"เสน่ห์"ใครแล้วก็ตาม) มันก็ยากที่จะลืมเลือน จิตใจก็พะวงแต่คนๆนั้น
เสมือนดั่งติด"ยางเหนียว"นั่นแหละครับ ตรงตัวศัพท์เลย
ลึกซึ้งมากฮะ
ฟัง/อ่านเพลินดีจัง
ฟัง/อ่านเพลินดีจัง