in Movies

Writing Star Wars Ending

Star Wars: Episode IX หรือ The Rise of Skywalker ถือเป็นภาคจบของตำนานตระกูล Skywalker ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนาน 42 ปี (ภาคแรก 1977 ภาคสุดท้าย 2019)

ความสำคัญของ Episode IX คือต้องแบกรับภารกิจ

  • เดินเรื่องให้จบไตรภาคสาม รวมถึงแก้ปัญหาที่สร้างไว้ใน Episode VIII ด้วย
  • ขมวดปมของ Star Wars ทั้ง 8 ภาคตั้งแต่รุ่นปู่ (Anakin) มาจนถึงรุ่นหลาน (Ben)
  • ปิดตำนานของ Skywalker แต่ยังต้องทิ้งทวน ทิ้งปมหลายๆ อันไว้เพื่อสร้างหนังภาคอื่นๆ ต่อไป (ซึ่ง Disney ก็ประกาศทำแล้ว เริ่มปี 2022)

ทั้งหมดนี้ต้องทำให้จบภายในเวลา 142 นาที หรือประมาณ 2 ชม. กว่าๆ เท่านั้น ถือเป็นภารกิจที่หนักหน่วงมาก

ความคาดหวังของแฟนๆ Star Wars ยาวนาน 42 ปีนั้นหนักอึ้งยิ่งนัก คนที่มารับงานเขียนบท Episode IX จึงต้องเจอกับความกดดันอย่างที่สุดของวงการภาพยนตร์ (ไม่รู้จะมีกดดันกว่านี้ไหม)

คนที่มารับงานนี้คือ Chris Terrio ที่เคยมีผลงานเรื่อง Argo, Batman v Superman และ Justice League โดยเขาได้รับการคัดเลือกจากผู้กำกับ J.J. Abrams เจาะจงมาให้เป็นคนเขียนบท Episode IX ร่วมกัน

Terrio ให้สัมภาษณ์กับ Polygon ถึงเบื้องหลังการเขียนบท Episode IX ถึงแม้ไม่ได้เปิดเผยเนื้อเรื่อง (ต้องรอหนังฉายก่อน) แต่ “กระบวนการ” เขียนบทของ Episode IX ถือว่าน่าสนใจทีเดียว

So we actually started with just a whiteboard. At Bad Robot, there are these big rooms with just white dry erase boards. They literally just surround you everywhere. It’s very dramatic. The wall opens and the boards come out. So we started just with that. Literally, just writing and asking, “What do we want to see happen? These characters, where do we want to see them go? What are the feelings that we want to have? What are the stories that we want to tell? What things do we feel were unresolved either from VII or from VIII or even from Episodes I, II, III, IV, V, VI?” We kind of started with that and then, gradually, that dry erase board became a document that we just called “The Boards.”

Gradually, Darwinism takes over, and you cross out the things that aren’t quite making it. We started just from our own hearts and brains about where we wanted it to go, which is, you know, a great thing for a franchise of this size, because it didn’t feel corporate at all.

กระบวนการคล้ายกับการทำ design thinking หรือ scenario workshop นั่นคือระดมไอเดีย แล้วค่อยๆ ตัดออกไปนั่นเอง

ผลจะออกมาดีแย่แค่ไหน อีกไม่นานหนังจะฉายแล้วก็คงรู้กัน